วันศุกร์ที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2555

บทที่ 2 ข้อมูล สารสนเทศ และความรู้


บทที่ 2 ข้อมูล สารสนเทศ และความรู้

       2.1. ข้อมูล สารสนเทศ และความรู้

-       ข้อมูล( data ) คือ สิ่งที่ใช้อธิบายคุณลักษณะของวัตถุ  เหตุการณ์  กิจกรรม โดยบันทึกจากการสังเกต  การทดลอง

ตัวอย่าง ข้อมูลทีเห็นได้เป็นประจำ เช่น ราคาสินค้า เกรดเฉลี่ยที่ได้รับ รูปภาพต่างๆที่ปรากฏในเว็บไซต์
                                                
                                                      
-         

      สารสนเทศ ( information ) คือ ผลลัพธ์ที่ได้จากการนำเสนอข้อมูลมาประมวลผล เพื่อให้ได้สิ่งที่เป็นประโยชน์ในการนำไปใช้งานมากขึ้น

                                                


-     ความรู้ ( knowledge ) เป็นคำที่มีความหมายกว้าง และใช้กันโดยทั่วไป ในด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์ หรือวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ ความรู้ คือ สิ่งที่ประกอบด้วยข้อมูลและสารสนเทศที่ถูกจัดรูปแบบและประมวลผลเพื่อนำไปใช้ประยุกต์ใช้ปัญหา ที่ต้องการนำข้อมูลและสารสนเทศเหล่านี้ไปแก้ไข
                                                               


         2 .2.   การจัดความรู้ ( kmowledge management )

ใ       เป็นการบริหารองค์กร สิ่งหนึ่งที่เกิดขึ้นแต่ไม่สามารถประเมินคุณค่า ที่เป็นตัวเงินได้ คือ ความรู้ที่ได้จากการปฏิบัติงาน เนื่องจากในการทำงาน  การแก้ปัญหา  การแสวงหาความรู้ การนำความรู้มาปรับใช้

            2.3 ลักษณะข้อมูลที่ดี

1    1. ความถูกต้องของข้อมูล เป็นลักษณะที่สำคัญของข้อมูล ถ้าข้อมูลไม่ถูกต้องแล้ว เราจะไม่สามารถได้ผลลัพธ์ที่ถูกต้องได้      เลย ซึ่งประเด็นนี้เป็นเรื่องที่สำคัญมาก
       2. ความสมบูรณ์ครบถ้วนในการนำไปใช้งาน ข้อมูลบางประเภทหากไม่ครบถ้วน จัดเป็นข้อมูลที่ด้อยคุณภาพได้เช่นกัน
       3.ความถูกต้องตามเวลา ในบางกรณีข้อมูลผูกอยู่กับเงื่อนไขของเวลา ซึ่งถ้าผิดจากเงื่อนไขของเวลาไปแล้ว ข้อมูลนั้นอาจลดคุณภาพลงไป หรือแม้กระทั่งอาจไม่สามารถใช้ได้
      4. ความสอดคล้องกันของข้อมูล ในกรณีที่ข้อมูลมาจากหลายแห่ง จะเกิดปัญหาขึ้น ในเรื่องของความสอดคล้องกันของข้อมูล เช่น ในบริษัทแห่งหนึ่งซึ่งเป็นที่เก็บข้อมูลที่อยู่ลูกค้าหากต้องการข้อมูลไปควบรวมกับบริษัทอื่นต้องสอดคล้องกัน

        2.4.  การจัดเก็บข้อมูล
             1.  การเก็บอย่างมีประสิทธิภาพ
             2. การตอบสนองต่อความต้องการได้อย่างรวดเร็ว เช่น ข้อมูลประวัติการบำรุงรักษารถยนต์
             3.การจำกัดสิทธิ์ในการเข้าถึงข้อมูลให้แก่ผู้ใช้ในแต่ละระดับขององค์กรเช่น ผู้บริหารเข้าถึงข้อมูลของทุกหน่วยงานได้ 

          2.4.1. ลำดับชั้นของข้อมูลในฐานข้อมูล การแทนข้อมูลด้วยตัวเลขฐานสอง ซึ่งประกอบด้วยตัวเลขสองตัว คือ 0 และ 1 ในทางคอมพิวเตอร์ จะเรียกตัวเลขฐานสองนี้ว่า 1 บิต ( bit ) ซึ่งถือว่าเป็นหน่วยที่เล็กที่สุดของข้อมูล และหากนำบิตมาต่อกันจำนวน 8 บิต จะเรียกว่า ไบต์ ( byte )

  

           1)  เขตข้อมูล ( field )  คือ ข้อมูลที่เป็นบิตนี้มารวมกันเพื่อนแทนความหมายบางอย่าง

            - จำนวนเต็ม ( integer ) คอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่จะเก็บตัวเลขขนาด 32 บิตซึ่งขนาดของตัวเลขนี้อาจเปลี่ยนแปลงไปตามเทคโนโลยีของเครื่องคอมพิวเตอร์ ตัวเลขฐานสองขนาด 32 บิต สามารถแทนตัวเลขจำนวนเต็มได้ตั้งแต่ –2,147,483,648 ถึง 2,147,483,647

-       จำนวนทศนิยม ( decimal number ) ในคอมพิวเตอร์จะเก็บตัวเลขทศนิยม โดยใช้ระบบโฟลททิงพอยด์ ( floating point ) ซี่งการเก็บลักษณะนี้ ไม่มีการกำหนดตำแหน่งตายตัวสำหรับจุด โดยทั้วไปการเก็บข้อมูลตัววเลขทีสองขนาด คือ 32 บิต และ 64 บิต

-        ข้อความ ( text ) ในการแทนข้อความนั้น จะต้องเปลี่ยนข้อความให้เป็นรหัสซึ่งใช้แทนตัวอักขระแต่ละตัวเสียก่อน ตามมาตรฐานทั่วไปจะใช้เป็นรหัสแอสกี ( ASCII code ) ซึ่งต่อมามีการใช้รหัสแบบยูนิโคด ( Unicode ) ซึ่งสมารถแทนภาษาได้หลายภาษามากกว่ารหัสแอสกี ความยาวของเขตประเภทนี้

       - วันเวลา ( date/ time ) วันที่เป็นเวลา เช่น วันที่เริ่มใช้งาน  วันลงทะเบียน  และเวลาซื้อสินค้า

      - ไฟล์ ( file ) เขตข้อมูลบางประเภทใช้เก็บไฟล์รูปภาพหรือไฟล์อื่นๆ ซึ่งเขตข้อมูลประเภท นี้จะเป็นเขตข้อมูลขนาดใหญ่


    

2  2 ) ระเบียน ( record ) คือ กลุ่มของเขตข้อมูลที่มีความสัมพันธ์กัน โดยเขตข้อมูลแต่ละส่วนอาจจะเป็นข้อมูลต่างชนิดกัน

  
    
      ) ตาราง ( table ) คือ กลุ่มของทะเบียน ซึ่งเขตข้อมูลในแต่ละทะเบียนจะเก็บข้อมูลที่มีความสัมพันธ์กัน ในข้อมูลจะเก็บข้อมูลหลายๆระเบียน
  
     ) ฐานข้อมูล ( database ) เป็นที่รวมของตารางหลายๆตารางเข้าด้วยกัน ตารางแต่ละตารางจะมีความสัมพันธ์กันโดยใช้เขตข้อมูลซึ่งเหมือนกันเป็นตัวเชื่อมโยงระหว่างกันบางตารางอาจเป็นตารางที่เก็บข้อมูลไว้เฉพาะตนเองโดยไม่เกี่ยวข้องกับตารางอื่น

              


     2.5. จริยธรรมในโลกของข้อมูล

                    2.5.1.   ความเป็นส่วนตัว   เมื่อข้อมูลปรากฏอยู่บนโลกออนไลน์มากขึ้นทำให้การรวบรวมข้อมูล  การเข้าถึง การค้นหา และการแบ่งปันส่วนบุคคลเป็นเรื่องท่สามารถทำได้ง่ายและเร็ว เช่น เลขรหัสประจำตัว วันเดือนปีเกิด หมายเลขโทรศัพท์ ข้อมูลประวัติการศึกษา
                 

                  2.5.2 สิทธิ์ในการเข้าถึงข้อมู เพื่อเป็นการรักษาความปลอดภัยให้กับข้อมูลในการเก็บข้อมูลในฐานข้อมูลจะมอบการกำหนดสิทธิ์ในการเข้าถึงข้อมูลของผู้ใช้แต่ละกลุ่ม โดยระบบจะอนุญาตให้ผู้ใช้คนหนึ่งเข้าถึงข้อมูลต้องมีการตรวจสอบว่า จะให้เข้าถึงข้อมูลใดได้บ้างหากมีความผิดในเรื่องของสิทธิ์ในการเข้าถึงข้อมูลหลายข้อ เช่น

      มาตรา 5 ผู้ใดเข้าถึงโดยมิชอบซึ่งระบบคอมพิวเตอร์ที่มีมาตรการนั้นมิได้ไว้สำหรับตน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

      มาาตรา 7 ผู้ใดเข้าถึงโดยมิชอบซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่มีมาตรการป้องกันการเข้าถึงโดยเฉพาะและมาตรการนั้นมิได้มีไว้สำหรับตน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปีหรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรอทั้งจำทั้งปรับ

      มาตรา 8 ผู้ใดกระทำด้วยประการใดโดยมิชอบ ด้วยวิธีการทางิเล็กทรอนิกส์เพื่อดกรับไว้ ซึงข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นที่อยู่ระหว่างการส่งในระบบคอมพิวเตอร์ ละข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นมิได้มีไว้เพื่อประโยชน์สาธารณะหรือเพื่อให้บุคคลทั่วไปใช้ประโยชน์ได้ต้องระวางโทษคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
                                                                           
                      2.5.3.  ทรัพย์สินทางปัญญา ในกระบวนการผลิตโปรแกรม  ระบบปฏิบัติการ รูปภาพ เพลง หรือหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ จำเป็นต้องใช้ต้นทุนสูง และใช้เวลาในการผลิตยาว  ถ้าผู้อื่นนำไปทำซ้ำโดยไม่ได้รับอนุญาต จะก่อให้เกิดความเสียหายแก่ทางธุรกิจและเจ้าของข้อมูล


         .......................................................................................................................

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น