วันอังคารที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2555

บทที่ 4 ระบบเครือข่ายและการสื่อสาร


บทที่ 4 ระบบเครือข่ายและการสื่อสาร

                                           
4.1 บทบาทของการสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์
     ปัจจุบันมีการใช้งานคอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์ในการคำนวณและเก็บข้อมูล รวมถึงการสื่อสาร ข้อมูล และการแลกเปลี่ยนข้อมูลการสื่อสาร
       การสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ก่อให้เกิดประโยชน์ดังนี้
1.ความสะดวกในการแบ่งปันข้อมูล ปัจจุบันมีข้อมูลจำนวนมากสามารถถูกผ่านเครือข่ายการสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพและรวดเร็ว
2.ความถูกต้องของข้อมูล การรับส่งข้อมูลระหว่างคอมพิวเตอร์ผ่านเครือข่ายการสื่อสารเป็นการส่งแบบดิจิทัล
3.ความเร็วของการรับส่งข้อมูล การใช้คอมพิวเตอร์ในการส่งข้อมูลหรือค้นหาข้อมูลจากฐานข้อมูลขนาดใหญ่ได้อย่างรวดเร็ว เนื่องจากสัญญาณทางไฟฟ้าเดินทางด้วยความเร็วใกล้เคียงความเร็วแสง
4.การประหยัดค่าใช้จ่ายในการสื่อสารข้อมูล การรับและส่งข้อมูลผ่านเครือข่ายการสื่อสารสามารถทำได้ในราคาถูกกว่าการสื่อสารแบบอื่น เช่น การใช้งานโทรศัพท์โดยผ่านอินเทอร์เน็ตหรือที่เรียกว่า วอยซ์โอเวอร์ไอพี
5.ความสะดวกในการแบ่งปันทรัพยากร ในองค์กรสามารถใช้อุปกรณ์สารสนเทศร่วมกันได้ โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายติดตั้งอุปกรณ์ให้กับทุกเครื่อง เช่น เครื่องพิมพ์
6.ความสะดวกในการประสานงาน ในองค์กรที่มีหน่วยงานย่อยหลายแห่งที่อยู่ห่างไกลกันสามารถทำงานประสานกันกันผ่านทางระบบอินเทอร์เน็ต
7.ขยายบริการขององค์กร เครือข่ายคอมพิวเตอร์ทำให้องค์กรสามารถกระจายที่ทำการไปตามจุดต่างๆที่ต้องการบริการ เช่น ธนาคารมีสาขาทั่วประเทศ
8.การสร้างบริการรูปแบบใหม่บนเครือข่าย การให้บริการต่างๆ ผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทำให้ผู้ใช้สามารถเข้าใช้บริกการได้ทุกที่ทุกเวลา เช่น การซื้อสินค้าผ่านร้านค้าออนไลน์

4.2 การสื่อสารข้อมูล
       หมายถึง การแลกเปลี่ยนข้อมูล/ข่าวสาร โดยผ่านทางสื่อกลางในการสื่อสาร ซึ่งอาจเป็นสื่อกลางประเภทที่มีสายหรือไร้สายก็ได้
     1.ข้อมูล/ข่าวสาร ( data/message ) คือ ข้อมูลหรือสารสนเทศต่างๆ ที่ต้องการส่งไปยังผู้รับโดยข้อมูล/ข่าวสารประกอบด้วยข้อความ ตัวเลข รูปภาพ เสียง
   
     2.ผู้ส่ง ( sender ) คือ คนหรืออุปกรณ์ที่ใช้สำหรับส่งข้อมูล/ข่าวสาร ซึ่งอาจเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ โทรศัพท์ เป็นต้น
    3.ผู้รับ ( receiver ) คือ คนหรืออุปกรณ์ที่ใช้สำหรับรับข้อมูล/ข่าวสารที่ทางผู้ส่งข้อมูลส่งให้ซึ่งอาจเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ โทรศัพท์ เป็นต้น
    4.สื่อกลางในการส่งข้อมูล ( transmission media ) คือ สื่งที่ทำหน้าที่ในการรับส่งข้อมูล/ข่าวสารไปยังจุดหมายปลายทาง โดยสื่อกลางในการรับส่งข้อมูลจะมีทั้งแบบมีสาย และแบบไร้สาย
   5.โพรโทคอล ( protocoll ) คือ กฎเกณฑ์ ระเบียบ หรือข้อปฏิบัติต่างๆ ที่กำหนดชึ้นมาเพื่อเป็นข้อตกลงในการสื่อสารข้อมูลระหว่างผู้รับและผู้ส่ง

     4.2.1 สัญญาณที่ใช้ในระบบการสื่อสาร แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ 1. สัญญาณแอนะล็อก  2.สัญญาณดิจิทัล  สัญญาณแอนะล็อกเป็นสัญญาณที่มีขนาดแอมพิจูด ที่เปลี่ยนแปลงตามเวลาและเป็นค่าต่อเนื่อง ส่วนสัญญาณดิจิทัลเป็นสัญญาณที่ไม่มีความต่อเนื่อง ที่ เรียกว่า ดิสครีต ( discrete )
  
     
สัญญาณแอนะล็อกและสัญญาณดิจิทัล
  
       4.2.2 การถ่ายโอนข้อมูล จำแนกได้ 2 แบบ คือ
             1. การถ่ายโอนข้อมูลแบบขนาน ทำได้โดยการส่งข้อมูลออกมาทีละหลายบิตพร้อมกัน จากอุปกรณ์ส่งไปยังอุปกรณ์รับ ผ่านสื่อกลางนำสัญญาณที่มีช่องทางส่งข้อมูลหลายช่องทาง  เช่น ส่งข้อมูล 11110001 ออกไปพร้อมกัน สายส่งก็ต้องมี 8 เส้น
                                      

             2.การถ่ายโอนแบบอนุกรม การถ่ายโอนอนุกรมจะเริ่มดดยข้อมูลแต่ละชุดจะถูกเปลี่ยนให้เป็นอนุกรมแล้วทยอยส่งออกไปทีละบิตไปยังจุดรับ แต่เนื่องจากการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ใช้ช่องทางแบบขนาน ดังนั้นจุดรับจะต้องมีกลไกในการเปลี่ยนแปลงข้อมูลที่รับมาทีละบิตให้เป็นชุดของข้อมูลที่ลงตัวพอดี
                               

      4.2.3 รูปแบบการรับ - ส่งข้อมูล การรับ - ส่งข้อมูลแบบขนานหรืออนุกรมสามารถแบ่งออกได้ 3 แบบ ดังนี้
          1.การสื่อสารทางเดียว ( simplex transmission ) ข้อมูลสามารถส่งได้หลายทางเดียวโดยแต่ละฝ่ายจะทำหน้าที่อย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น เป็นผู้รับ-ผู้ส่ง
          2. การสื่อสารสองทางครึ่งอัตรา ( half duplex transmission )  สามารถส่งข้อมูลได้ทั้งสองฝ่าย แต่จะต้องผลัดกันส่งและผลัดกันรับจะส่งและรับพร้อมกันไม่ได้
          3.การสื่อสารสองทางเต็มอัตรา ( full duplex transmission ) สามารถส่งข้อมูลสองทางโดยที่ผู้รับและผู้ส่งสามารถรับส่งข้อมูลในเวลาเดียวกัน เช่น การสนทนาทางโทรศัพท์คู้สนทนาคุยโต้ตอบได้ในเวลาเดียวกัน

4.3 สื่อกลางใการสื่อสารข้อมูล
        4.3.1 สื่อกลางแบบใช้สาย
           1.สายคู่บิดเกลียว  สายนำสัญญาณแบบนี้แต่ละคู่สายที่เป็นสายทองแดงจะถูกพันบิดเกลียว เพื่อลดการรบกวนของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจากคู่สายข้างเคียงภายในสายเดียวกันหรือจากภายนอก  สายคู้บิดเกลียวมี 2 ชนิด คือ

                                       
        
         สายคู่บิดเกลียวแบบไม่ป้องกันสัญญาณรบกวน หรือสายยูทีพี ( UTP ) เป็นสายที่ใช้ในระบบโทรศัพท์ ต่อมาได้มีการปรับปรุงคุณสมบัติให้ดีขึ้น จนสามารถใช้กับสัญญาณความถี่สูงได้ ทำให้ส่งข้อมูลได้ด้วยความเร็วสูงขึ้น
          - สายคู่บิดเกลียวแบบป้องกันสัญญาณรบกวน ( STP ) ป็นสายที่หุ้มด้วยตัวกั้นสัญญาณเพื่อป้องกันการรบกวนได้ดียิ่งขึ้น สายเอสทีพีรองรับความถี่ของการส่งข้อมูลสูงกว่าสายยูทีพี แต่มีราคาแพงกว่า
   
          2.สายโคแอกซ์ เป็นสายนำสัญญาณที่เรารู้จักกันดี โดยใช้เป็นสายนำสัญญษณที่ต่อจากเสาอากาศเครื่องรับโทรทัศน์หรือสายเคเบิลทีวี ตัวสายประกอบด้วยลวดทองแดงที่เป็นแกนหลักหนึ่งเส้นหุ้มด้วยฉนวนเพื่อป้องกันกระแสไฟ้ารั่ว จากนั้นจะหุ้มด้วยตัวนำซึ่งทำจากลวดทองแดงถักเป็นร่างแหเพื่อป้องกันการรบกวนของคลื่อนแม่เหล็กไฟ้าและสัญญาณรบกวนอื่นๆ
                                       

           3.สายไฟเบอร์ออพติก ประกอบด้วยกลุ่มของเส้นใยที่ทำจากแก้วหรือพลาสติกที่มีขนาดเล็ประมาณเส้นผม แต่ละเส้นจะมรแกนกลางที่ถูกหุ้มด้วยวัสดุใยแก้วอีกชนิดหนึ่งที่เรียกว่า แคล็ดดิง
( cladding )
                                                       
        4.3.2 สื่อกลางแบบไร้สาย การสื่อสารแบบไร้สายอาศัยคลื่อนแม่เหล็กไฟฟาเป็นสื่อกลางนำสัญญาณ การสื่อสารแบบไร้สายมีผู้นิยมใช้มากชึ้น เนื่องจากมีความคล่องตัวสูงและสะดวกสบาย มักนิยมใช้กันในพื้นที่ทีการติดตั้งสายนำสัญญาณทำได้ลำบากหรือค่าใช่จ่ายในการติดตั้งสูงเกินไป สื่อกลางของการสื่อสารแบบนี้ เช่น อินฟราเรด ไมโครเวฟ คลื่อนวิทยุ และดาวเทียมสื่อสาร
                                           
                1. อินฟราเรด สื่อกลางประเภทนี้มักใช้กับการสื่อสารข้อมูลที่ไม่มีสิ่งกีดขวางรหว่างตัวส่งและตัวรับสัญญาณ เช่น การส่งสัญญาณจากรีโมตคอนโทรลไปยังเครื่องรับโทรทัศน์หรือวิทยุ
               
                2.ไมโครเวฟ เป็นสื่อกลางในการสื่อสารที่มีความเร็วสูงใช้สำหรับการเชื่อมต่อระยะไกลโดยการส่งสัญญาณคลื่อนแม่เหล็กไฟฟ้าไปในอากาศพร้อมกับข้อมูลที่ต้องการส่ง และต้องมีสถานีที่ทำหน้าที่ส่ง และรับข้อมูล
                
                 3.คลื่นวิทยุ  เป็นสื่อกลางที่ใช้ส่งสัญญาณไปในอากาศ โดยสามารถส่งในระยะทางได้ทั้งใกล้และไกล โดยมีตัวกระจายสัญญาณ ส่งไปยังตัวรับสัญญาณ และใช้คลื่นวิทยุในช่วงความถี่ต่างๆกันในการส่งข้อมูล
                
                 4.ดาวเทียมวิทยุ พัฒนาขึ้นมาเพื่อหลีกเลี่ยงข้อจำกัดของสถานีรีบส่งไมโครเวฟบผิวโลก โดยเป็นสถานีรับส่งสัญญาณไมโครเวฟบนอากาศ ในการส่งสัญญาณต้องมีสถานีภาคพื้อนดินคอยทำหน้าที่รับและส่งสัญญาณขั้นไปยังดาวเทียมที่โคจรอยู่สูงจากพื้อนโลกประมาณ 35,600 กิโลเมตร

4.4 เครือข่ายคอมพิวเตอร์
        เป็นการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วงเข้าด้วยกันเพื่อให้สามารถใช้ข้อมูลและทรัพยากรร่วมกันได้ เครือข่ายของคอมพิวเตอร์สามารถแบ่งออกเป็นประเภทตามพื้นที่ที่ครอบคลุมการใช้งานของเครือข่าย ดังนี้
     1. เครือข่ายส่วนบุคคล หรือ แพน   ( PAN ) เป็นเครือข่ายที่ใช้ส่วนบุคคล เช่น การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์กับโทรศัพท์มือถือ
     
     2.เครือข่ายเฉพาะที่ หรือแลน ( LAN ) เป็นเครือข่ายที่มช้มนการเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่างๆ ที่อยู่ในพื้นที่เดียวกันหรือใกล้เคียงกัน เช่น ภายในบ้าน ภายในสำนักงาน และภายในอาคาร
     
      3.เครือข่ายนครหลวง หรือแมน ( MAN ) เป็นเครือข่ายที่มใช้เชื่อมโยงแลนที่อยู่ห่างไกลออกไป เช่น การเชื่อมต่อเครือข่ายระหว่างสำนักงานที่อาจอยู่คนละอาคารและมีระยะทางไกลกัน
     
       4.เครือข่ายวงกว้าง หรือแวน ( WAN ) เป็นเครือข่ายที่ใช้ในการเชื่อมโยงกับเครือข่ายอื่นที่อยู่ไกลจากกันมาก เช่น เครือข่ายระหว่างจังหวัด

      4.4.1 ลักษณะของเครือข่าย แบ่งลักษณะเครือข่ายตามบทบาทของเครื่องคอมพิวเตอร์ในการสื่อสารได้ ดังนี้
       1.เครือข่ายแบบรับ-ให้บริการ หรือไคลเอนท์ / เซิร์ฟเวอร์ จะได้เครื่องคอมพิวเตอร์ที่เป็นเครื่องให้บริการต่างๆ เช่น บริการเว็บ และบริการฐานข้อมูล การให้บริการขึ้นอยู่กับการร้องขอบริการจากเครื่องรับบริการ
       2.เครื่อข่ายระดับเดียวกัน เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถเป็นได้ทั้งเครื่องให้บริการและเครื่องรับบริการในขณะเดียวกัน การใช้งานส่วนใหญ่มักใช้ในการแบ่งปันข้อมูล เช่น เพลง ภาพยนตร์ โปรแกรม และเกม

     4.4.2 รูปร่างเครือข่าย แบ่งออกเป็น 4 รูปแบบคือ
       1.เครือข่ายแบบบัส เป็นรูปแบบที่มีโครงสร้างไม่ยุ่งยาก สถานีทุกสถานีในเครือข่ายจะเชื่อมต่อเข้ากับสายสื่อสารหลักเพยงสายเดียวที่เรียกว่า บัส การจัดส่งข้อมูลลงบนบัสจึงไปยังทุกสถานีได้ ซึ่งการจัดส่งนี้ต้องกำหนดวิธีการที่จะไม่ให้ทุกสถานีส่งข้อมูลพร้อมกัน เพราะจะทำให้เกิดการชนกันของข้อมูล
                                               

     2.เครือข่ายแบบวงแหวน เป็นการเชื่อมแต่ละสถานีเข้าด้วยกันแบบวงแหวน สัญญาณข้อมูลจะถูกส่งอยู่ในวงแหวนไปในทิศทางเดียวกันจนถึงผู้รับ
                                                   

      3.เครือข่ายแบบดาว เป็นการเชื่อมต่อสถานีในเครือข่าย โดยทุกสถานีจะเข้ากับหน่วยสลับสายกลาง เช่น ฮับ หรือสวิตซ์ ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางของการเชื่อมต่อระหว่างสถานีต่างๆที่ต้องการติดต่อ
                                      
      4.เครือข่ายแบบเมช เป็นรูปแบบของการเชื่อมต่อที่มีความนิยมมากและมีประสิทธิภาพสูง เนื่องจากถ้ามีเส้นทางของการเชื่อมต่อคู่ใดคู่หนึ่งขาดจากกัน การติดต่อสื่อสารระหว่างคู้นั้นยังสามารถติดต่อได้โดยอุปกรณ์จัดเส้นทาง จะทำการเชื่อมต่อเส้นทางใหม่ไปยังจุดหมายปลายทางอัติโนมัติ

                                             
4.5 โพรโทคอล การเชื่อมต่อระหว่างคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์เครือข่ายที่ผลิตจากผู้ผลิตหลายรายผ่านทางระบบเครือข่ายชนิดต่างๆกัน ไม่สามารถเชื่อมต่อได้โดยตรง  สำหรับโพรโทคอลที่ใช้เป็นมาตรฐานในการสื่อสารแบบใช้สาย และแบบไร้สาย ที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย เช่น
                                                  
      ทีซีพี / ไอพี ( TCP / IP ) เป็นโพรโทคอลที่ใช้ในการสื่อสารในระบบอิเทอร์เน็ต โดยมีการระบุผู้รับผู้ส่งในเครือข่ายและจัดการแบ่งข้อมูลเป็นชื้นเล็กๆ ที่เรียกว่า แพ็กเก็ต
     
       - ไวไฟ ( Wi-Fi )  ผู้ใช้งานในบ้านหรือสำนักงานขนดเล็ก ส่วนใหญ่นิยมไวไฟในการติดตั้งระบบแลนไร้สาย โดยมรการติดตั้งแผงวงจรหรืออุปกรณ์รับส่งไวไฟที่เรียกว่า การ์ดแลนไร้สาย สัญญาณของอุปกรณ์จะอยู่ไม่เกิน 100 เมตรสำหรับการใช้งานภายในอาคาร และไม่เกิน 500 เมตร สำหรับการใช้งานในที่โล่งนอกอาคาร
    
      ไออาร์ดีเอ ( IrDA) เป็นโพรโทคอลใช้เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์กับอุปกรณ์สื่อสารแบบไร้สายระยะใกล้ และไม่มีสิ่งกีดขวาง โดยใช้อินฟราเรดระหว่าง 115 kbps ถึง 4 Mbps ผ่านพอร์ตไออาร์ดีเอ
     
        บลูทูท เป็รโพรโทคอลที่ใช้คลื่อนวิทยุความถี่ 2.4 GHz ในการรับส่งข้อมูลโดยคล้ายกับแลนไร้สาย ตามมาตรฐาน IEEE 802.15 มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์สามารถติดต่อสื่อสารกับอุปกรณ์ต่อพ่วงไร้สายอื่นๆ เช่น เครื่องพิมพ์ เมาส์ คีย์บอร์ด
                                            

 4.6 อุปกรณ์การสื่อสาร
      ทำหน้าที่รับและส่งข้อมูลจากอุปกรณ์ส่งและรับข้อมูล โดยมีการส่งผ่านทางสื่อกลาง
      1.โมเด็ม เป็นอุปกรณ์ที่แปลงสัญญาณดิจิทัลเป็นสัญญาณแอนะล็อกและแปลงจากสัญญาณแอนะล็อกเป็นดิจิทัลเพื่อให้ข้อมูลผ่านทางสายโทรศัพท์ได้
           1.1 โมเด็มแบบหมุนโทรศัพท์ เป็นโมเด็มที่ใช่ต่อเข้ากับผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตผ่านทางสายโทรศัพท์
           1.2  ดิจิทัลโมเด็ม เป็นโมเด็มที่ใช้รับ ส่งข้อมูลผ่านทางสายสัญญาณแบบดิจิทัล การเชื่อมต่อไม่จำเป็นต้องหมุนโทรศัพท์ไปที่ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต โดยโมเด็มจะทำการเชื่อมต่อให้อัติโนมัติ
โมเด็ม
                                      


              ดีเอสแอล ( DSL ) เป็นโมเด็มที่ได้รับความนิยมในการใช้งานภายในบ้าน และสำนักงานขนาดเล็ก โดยสามารถรับแลัส่งข้อมูลดิจิทัลด้วยความเร็วสูงกว่าการเชื่อต่อผ่านโมเด็มแบบหมุนโทรศัพท์
              เคเบิลโมเด็ม  เป็นโมเด็มที่ทำหน้าที่รับแลัส่งข้อมูลดิจิทัลจากคอมพิวเตอร์ผ่านทางสายเคเบิลทีวี บางครั้งเรียกว่า บรอดแบนด์โมเด็ม สามารถรับและส่งข้อมูลได้สูงเหมือนกับดีเอสแอลโมเด็ม
    
    2.การ์ดแลน เป็นอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อระหว่างคอมพิวเตอร์กับสายตัวนำสัญญาณ ทำให้คอมพิวเตอร์สามารถรับและส่งข้อมูลกับระบบเครือข่ายได้
                                                 
     3.ฮับ เป็นอุปกรณ์ที่รวมสัญญาณที่มาจากอุปกรณ์รับส่งหรือเครื่องคอมพิวเตอร์หลายๆ เครื่องเข้าด้วยกัน ข้อมูลที่รับส่งผ่านฮับจากเครื่องหนึ่งจะกระจายไปยังสถานีที่จ่ออบู่บนฮับนั้น
                                       
     4.สวิตซ์ เป็นอุปกรณ์รวมสัญญาณที่มาจากอุปกรณ์รับส่งหรือคอมพิวเตอร์หลายเครื่องเช่นเดียวกับ
ฮับ แต่จะมีข้อมีข้อแตกต่างจากฮับ กล่าวคือ การรับส่งข้อมูลจากอุปกรณ์ตัวหนึ่ง จะไม่กระจายไปยังทุกจุดเหมือนฮับ ทั้งนี้เพราะสวิตซ์จะรับกลุ่มข้อมูลมาตรวจสอบก่อนว่าเป็นคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์ใด แล้วนำข้อมูลส่งไปยังคอมพิวเตอร์
                                           
     5.อุปกรณ์จัดเส้นทา เป็นอุปกรณ์ที่ใช้งานในการเชื่อมโยงเครือข่ายหลายเครือข่ายเข้าด้วยกัน หรือเชื่อมโยงอุปกรณ์หลายอย่างเข้าด้วยกัน ดังนั้นจึงมีเส้นทางการเข้าออกของข้อมูลได้หลายเส้นทาง
                                             
     6.จุดเชื่อมต่อแบบไร้สาย ทำหน้าที่คล้ายกับฮับของเครือข่ายแบบใช้สายเพื่อใช้สำหรับติดต่อสื่อสารระหว่างอุปกรณ์แบบไร้สายซึ่งข้อมูงจะถูกส่งผ่านทางคลื่อนวิทยุ ความถี่สูง
                                                 

4.7 ตัวอย่างการติดตั้งแลนภายในบ้าน
         สามารถทำได้โดยเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์อย่างน้อยสองเครื่องเข้าด้วยกันโดยผ่านสวิตซ์ และทำการปรับตั้งค่าโพรโทคอลการสื่อสารที่เกี่ยวข้อง เช่น ที่อยู่ไอทีของแต่ละเครื่อง    
                               

....................................................................

วันศุกร์ที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2555

บทที่ 2 ข้อมูล สารสนเทศ และความรู้


บทที่ 2 ข้อมูล สารสนเทศ และความรู้

       2.1. ข้อมูล สารสนเทศ และความรู้

-       ข้อมูล( data ) คือ สิ่งที่ใช้อธิบายคุณลักษณะของวัตถุ  เหตุการณ์  กิจกรรม โดยบันทึกจากการสังเกต  การทดลอง

ตัวอย่าง ข้อมูลทีเห็นได้เป็นประจำ เช่น ราคาสินค้า เกรดเฉลี่ยที่ได้รับ รูปภาพต่างๆที่ปรากฏในเว็บไซต์
                                                
                                                      
-         

      สารสนเทศ ( information ) คือ ผลลัพธ์ที่ได้จากการนำเสนอข้อมูลมาประมวลผล เพื่อให้ได้สิ่งที่เป็นประโยชน์ในการนำไปใช้งานมากขึ้น

                                                


-     ความรู้ ( knowledge ) เป็นคำที่มีความหมายกว้าง และใช้กันโดยทั่วไป ในด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์ หรือวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ ความรู้ คือ สิ่งที่ประกอบด้วยข้อมูลและสารสนเทศที่ถูกจัดรูปแบบและประมวลผลเพื่อนำไปใช้ประยุกต์ใช้ปัญหา ที่ต้องการนำข้อมูลและสารสนเทศเหล่านี้ไปแก้ไข
                                                               


         2 .2.   การจัดความรู้ ( kmowledge management )

ใ       เป็นการบริหารองค์กร สิ่งหนึ่งที่เกิดขึ้นแต่ไม่สามารถประเมินคุณค่า ที่เป็นตัวเงินได้ คือ ความรู้ที่ได้จากการปฏิบัติงาน เนื่องจากในการทำงาน  การแก้ปัญหา  การแสวงหาความรู้ การนำความรู้มาปรับใช้

            2.3 ลักษณะข้อมูลที่ดี

1    1. ความถูกต้องของข้อมูล เป็นลักษณะที่สำคัญของข้อมูล ถ้าข้อมูลไม่ถูกต้องแล้ว เราจะไม่สามารถได้ผลลัพธ์ที่ถูกต้องได้      เลย ซึ่งประเด็นนี้เป็นเรื่องที่สำคัญมาก
       2. ความสมบูรณ์ครบถ้วนในการนำไปใช้งาน ข้อมูลบางประเภทหากไม่ครบถ้วน จัดเป็นข้อมูลที่ด้อยคุณภาพได้เช่นกัน
       3.ความถูกต้องตามเวลา ในบางกรณีข้อมูลผูกอยู่กับเงื่อนไขของเวลา ซึ่งถ้าผิดจากเงื่อนไขของเวลาไปแล้ว ข้อมูลนั้นอาจลดคุณภาพลงไป หรือแม้กระทั่งอาจไม่สามารถใช้ได้
      4. ความสอดคล้องกันของข้อมูล ในกรณีที่ข้อมูลมาจากหลายแห่ง จะเกิดปัญหาขึ้น ในเรื่องของความสอดคล้องกันของข้อมูล เช่น ในบริษัทแห่งหนึ่งซึ่งเป็นที่เก็บข้อมูลที่อยู่ลูกค้าหากต้องการข้อมูลไปควบรวมกับบริษัทอื่นต้องสอดคล้องกัน

        2.4.  การจัดเก็บข้อมูล
             1.  การเก็บอย่างมีประสิทธิภาพ
             2. การตอบสนองต่อความต้องการได้อย่างรวดเร็ว เช่น ข้อมูลประวัติการบำรุงรักษารถยนต์
             3.การจำกัดสิทธิ์ในการเข้าถึงข้อมูลให้แก่ผู้ใช้ในแต่ละระดับขององค์กรเช่น ผู้บริหารเข้าถึงข้อมูลของทุกหน่วยงานได้ 

          2.4.1. ลำดับชั้นของข้อมูลในฐานข้อมูล การแทนข้อมูลด้วยตัวเลขฐานสอง ซึ่งประกอบด้วยตัวเลขสองตัว คือ 0 และ 1 ในทางคอมพิวเตอร์ จะเรียกตัวเลขฐานสองนี้ว่า 1 บิต ( bit ) ซึ่งถือว่าเป็นหน่วยที่เล็กที่สุดของข้อมูล และหากนำบิตมาต่อกันจำนวน 8 บิต จะเรียกว่า ไบต์ ( byte )

  

           1)  เขตข้อมูล ( field )  คือ ข้อมูลที่เป็นบิตนี้มารวมกันเพื่อนแทนความหมายบางอย่าง

            - จำนวนเต็ม ( integer ) คอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่จะเก็บตัวเลขขนาด 32 บิตซึ่งขนาดของตัวเลขนี้อาจเปลี่ยนแปลงไปตามเทคโนโลยีของเครื่องคอมพิวเตอร์ ตัวเลขฐานสองขนาด 32 บิต สามารถแทนตัวเลขจำนวนเต็มได้ตั้งแต่ –2,147,483,648 ถึง 2,147,483,647

-       จำนวนทศนิยม ( decimal number ) ในคอมพิวเตอร์จะเก็บตัวเลขทศนิยม โดยใช้ระบบโฟลททิงพอยด์ ( floating point ) ซี่งการเก็บลักษณะนี้ ไม่มีการกำหนดตำแหน่งตายตัวสำหรับจุด โดยทั้วไปการเก็บข้อมูลตัววเลขทีสองขนาด คือ 32 บิต และ 64 บิต

-        ข้อความ ( text ) ในการแทนข้อความนั้น จะต้องเปลี่ยนข้อความให้เป็นรหัสซึ่งใช้แทนตัวอักขระแต่ละตัวเสียก่อน ตามมาตรฐานทั่วไปจะใช้เป็นรหัสแอสกี ( ASCII code ) ซึ่งต่อมามีการใช้รหัสแบบยูนิโคด ( Unicode ) ซึ่งสมารถแทนภาษาได้หลายภาษามากกว่ารหัสแอสกี ความยาวของเขตประเภทนี้

       - วันเวลา ( date/ time ) วันที่เป็นเวลา เช่น วันที่เริ่มใช้งาน  วันลงทะเบียน  และเวลาซื้อสินค้า

      - ไฟล์ ( file ) เขตข้อมูลบางประเภทใช้เก็บไฟล์รูปภาพหรือไฟล์อื่นๆ ซึ่งเขตข้อมูลประเภท นี้จะเป็นเขตข้อมูลขนาดใหญ่


    

2  2 ) ระเบียน ( record ) คือ กลุ่มของเขตข้อมูลที่มีความสัมพันธ์กัน โดยเขตข้อมูลแต่ละส่วนอาจจะเป็นข้อมูลต่างชนิดกัน

  
    
      ) ตาราง ( table ) คือ กลุ่มของทะเบียน ซึ่งเขตข้อมูลในแต่ละทะเบียนจะเก็บข้อมูลที่มีความสัมพันธ์กัน ในข้อมูลจะเก็บข้อมูลหลายๆระเบียน
  
     ) ฐานข้อมูล ( database ) เป็นที่รวมของตารางหลายๆตารางเข้าด้วยกัน ตารางแต่ละตารางจะมีความสัมพันธ์กันโดยใช้เขตข้อมูลซึ่งเหมือนกันเป็นตัวเชื่อมโยงระหว่างกันบางตารางอาจเป็นตารางที่เก็บข้อมูลไว้เฉพาะตนเองโดยไม่เกี่ยวข้องกับตารางอื่น

              


     2.5. จริยธรรมในโลกของข้อมูล

                    2.5.1.   ความเป็นส่วนตัว   เมื่อข้อมูลปรากฏอยู่บนโลกออนไลน์มากขึ้นทำให้การรวบรวมข้อมูล  การเข้าถึง การค้นหา และการแบ่งปันส่วนบุคคลเป็นเรื่องท่สามารถทำได้ง่ายและเร็ว เช่น เลขรหัสประจำตัว วันเดือนปีเกิด หมายเลขโทรศัพท์ ข้อมูลประวัติการศึกษา
                 

                  2.5.2 สิทธิ์ในการเข้าถึงข้อมู เพื่อเป็นการรักษาความปลอดภัยให้กับข้อมูลในการเก็บข้อมูลในฐานข้อมูลจะมอบการกำหนดสิทธิ์ในการเข้าถึงข้อมูลของผู้ใช้แต่ละกลุ่ม โดยระบบจะอนุญาตให้ผู้ใช้คนหนึ่งเข้าถึงข้อมูลต้องมีการตรวจสอบว่า จะให้เข้าถึงข้อมูลใดได้บ้างหากมีความผิดในเรื่องของสิทธิ์ในการเข้าถึงข้อมูลหลายข้อ เช่น

      มาตรา 5 ผู้ใดเข้าถึงโดยมิชอบซึ่งระบบคอมพิวเตอร์ที่มีมาตรการนั้นมิได้ไว้สำหรับตน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

      มาาตรา 7 ผู้ใดเข้าถึงโดยมิชอบซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่มีมาตรการป้องกันการเข้าถึงโดยเฉพาะและมาตรการนั้นมิได้มีไว้สำหรับตน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปีหรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรอทั้งจำทั้งปรับ

      มาตรา 8 ผู้ใดกระทำด้วยประการใดโดยมิชอบ ด้วยวิธีการทางิเล็กทรอนิกส์เพื่อดกรับไว้ ซึงข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นที่อยู่ระหว่างการส่งในระบบคอมพิวเตอร์ ละข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นมิได้มีไว้เพื่อประโยชน์สาธารณะหรือเพื่อให้บุคคลทั่วไปใช้ประโยชน์ได้ต้องระวางโทษคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
                                                                           
                      2.5.3.  ทรัพย์สินทางปัญญา ในกระบวนการผลิตโปรแกรม  ระบบปฏิบัติการ รูปภาพ เพลง หรือหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ จำเป็นต้องใช้ต้นทุนสูง และใช้เวลาในการผลิตยาว  ถ้าผู้อื่นนำไปทำซ้ำโดยไม่ได้รับอนุญาต จะก่อให้เกิดความเสียหายแก่ทางธุรกิจและเจ้าของข้อมูล


         .......................................................................................................................

วันพฤหัสบดีที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2555


 บทที่ 1 เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร





              คำว่า เทคโนโลยีสารสนเทศ ( Infoemation Technology : IT ) เรียกย่อว่า ไอที ประกอบด้วย
คำว่า" เทคโนโลยี" และคำว่า "สารสนเทศ" นำมารวมกันเป็น เทคโนโลยีสารสนเทศ และคำว่า "เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร" ( Information  and  Communication Technology : ICT ) หรือเรียกย่อว่า ICT ประกอบด้วยคำที่มีความหมาย ดังนี้
-  เทคโนโลยี (Technology)  หมายถึง การนำความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ในการพัฒนา เครื่องใช้ อุปกรณ์ วิธีการหรือกระบวนการ 
- สารสนเทศ ( Information ) หมายถึง ผลลัพธ์ที่เกิดจากการนำข้อมูลมาผ่านกระบวนการต่างๆ อย่างมีระบบ จนได้สิ่งที่เป็นประโยชน์ 
- เทคโนโลยีสารสนเทศ ( Information Technology ) หมายถึง  การนำความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้เพื่อสร้างหรือจัดการกับสารสนเทศอย่างเป็นระบบและรวดเร็ว   โดยอาศัยเทคโนโลยีทางด้านคอมพิวเตอร์ 
- เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (Information and Communition Technology) หมายถึง 
เทคโนโลยที่เกี่ยวข้องกับข่างสารข้อมูล และการสื่อสารนับตั้งแต่สร้าง การนำมาวิเคราะห์และประมวลผล 

องค์ประกอบของระบบสารสนเทศ

1. ฮาร์ดแวร์ ( hardware )  หมายถึง ตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์ต่อพ่วงต่างๆ เช่น คีย์บอร์ด เมาส์ จอภาพ ฯลฯ รวมทั้งอุปกรณืสื่อสารสำหรับเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์เข้าเป็นเครือข่าย
คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วงต่างๆ

2.  ซอฟต์แวร์ ( software) หมายถึง โปรแกรมหรือชุดคำสั่ง ที่ใช้ควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์ ชุดคำสั่งจะถูกแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ 


โปรแกรมหรือชุดคำสั่ง

     2.1. ซอฟต์แวร์ระบบ ( system software ) หมายถึง ชุดคำสั่งที่ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของเครื่อง  คอมพิวเตอร์  และอุปกรณ์ต่อพ่วงต่างๆ ซอฟต์แวร์ระบบแบ่งออกเป็น 4 ประเภท
        
        2.1.1 ระบบปฏิบัติการ ( Operating System : OS ) เป็นซอฟต์แวร์ที่ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ และซอฟต์แวร์ทั้งหมดภายในเครื่อง 
ตัวอย่างระบบปฏิบัติการ


        2.1.2 โปรแกรมอรรถประโยชน์ ( utilities program ) เป็นโปรแกรมที่ช่วยเสริมการทำงานของคอมพิวเตอร์ เช่น โปรแกรมที่ใช้ในการจัดการข้อมูล ( file manager )  โปรแกรมที่ใช้ในการจัดพื้นที่ของดิสก์ ( disk defragmenter )  เป็นต้น 
การเรียกใช้งานโปรแกรมอรรถประโยชน์

        2.1.3 โปรแกรมขับอุปกรณ์ หรือดีไวซ์ไดร์ฟเวอร์ ( device driver ) โปรแกรมที่ช่วยติดตั้งระบบเพื่อให้คอมพิวเคอร์สามารถติดตั้ง และใช้งานได้
ดีไวซ์ไดร์ฟเวอร์

            2.1.4 โปรแกรมแปลภาษา เป็นโปรแกรมที่ทำหน้าที่แปลโปรแกรมที่เขียนขึ้นด้วยภาษาคอมพิวเตอร์โปรแกรมหรือชุดคำสั่ง



ตัวแปลภาษาซี

2.2 ซอฟต์แวร์ประยุกต์ ( application sortware ) หมายถึง ชุดคำสั่งที่เขียนขึ้นเพื่อให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานตามวัตถุประสงค์ เช่น เบสิก ซี จาวา เป็นต้น


ตัวอย่างซอฟต์แวร์ประยุกต์


3.ข้อมูล ( data ) ข้อมูลที่ถูกรวบรวมและป้อนข้อมูลเข้าสู่คอมพิวเตอร์ โดยผ่านอุปกรณ์ของหน่วยรับเข้า 


ข้อมูลหน่วยความจำ


4.บุคลากร ( people ) หมายถึง บุคลากรที่เป็นผู้พัฒนาระบบสารสนเทศ


บุคลากรที่เป็นผู้ใช้ระบบสารสนเทศ

5.ขั้นตอนการปฏิบัตงา( procedrue ) ระบบสารสนเทศต้องมีขั้นตอนการปฏิบัติงานที่เป็นลำดับขั้นตอน เพิ่อให้ผู้ใช้งานสามารถเข้าใจได้ง่าย 


กระบวนการประมวลผลข้อมูล และการใช้สารสนเทศ

ประกอบและตัวอย่างของการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

1. ด้านการศึกษา  เทคโนโลยสารสนเทศและการสื่อสารถูกนำมาใช้เพื่ออำนวยความสะดวกในการบริหารด้านการศึกษา เช่น ระบบการลงทะเบียน และระบบการจัดตารางสอน เทคโนโลยสารสนเทศด้สนการศึกษา แบ่งออกเป็น 3 ประเภท
  - การศึกษาทางไกลผ่านดางเทียม
  - บทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ยังช่วยเสริมประสิทธิภาพการเรียนการสอน
  - บทเรียนเล็กทรอนิกส์


ตัวอย่างเทคโนโลยีสารสนเทศในด้านการศึกษา


2.ด้านการแพทย์และสาธารณสุข เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารถูกรำมาใช้เริ่มตั้งแต่การทำทะเบียนคนไข้ การรักษาพยาบาล การตรวจวินิจฉัย เป็นต้น




                                       ตัวอย่างเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในด้านการแพทย์และสาธารณสุข



3. ด้านการเกษตรและอุตสาหกรรม เทคโนโลยสารสนเทศและการสื่อสารถูกนำมาใช้ประโยชน์ในด้านเกษรกรรม เช่น การจัดทำข้อมูลเพื่อการเกษตรและพยากรณ์ผลผลิตด้านการเกษตร นอกจากนี้ยังช่วยพัฒนาความก้าวหน้าด้าอุตสาหกรรม การประดิษฐ์หุ่นยนต์เพื่อใช้ทำงานบ้าน




ตัวอย่างเทคโนโลยสารสนเทศและการสื่อสารในด้านการเกษตรและอุตสาหกรรม

4.ด้านการเงินการธนาคาร เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารถูกนำมาใช้ในด้านการเงินการธนาคาร โดยใช้ช่วยงานด้านบัญชี การฝากถอนเงิน โอนเงิน




ตัวอย่างเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในด้านการเงินการธนาคาร


5.ด้านความมั่นคง เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารกันอย่างแพร่หลาย เช่น ใช้ในการควบคุมประสานงานวงจรทหาร การแปลรหัสลับในงานจารกรรมระหว่างประเทศ การส่งดางเทียม และการคำนวณวิถีการโคจร

ตัวอย่างเทคโนโลยสารสนเทศและการสื่อสารในด้านความมั่นคง

6.ด้านการคมนาคม     มีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการเดินทาง เช่น การเดินทางรถไฟ มีการเชื่อมโยงข้อมูลการจองที่นั่งไปยังทุกสถานี ทำให้สะดวกต่อผู้โดยสาร
ตัวอย่างเทคโนโลยสารสนเทศและการสื่อสารในด้านการคมนาคม


7.ด้านวิศวกรรมและสถาปัตยกรรม มีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในการออกแบบ หรือจำลองสภาวการณ์ต่างๆ โดยการคำนวณและแสดงภาพสถานการณ์



ตัวอย่างเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่ิอสารในด้านวิศวกรรมและสถาปัตยกรรม


8.ด้านการพาณิชย์    องค์กรในภาคธุรกิจใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในการบริหารจัดการ เพื่อช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นให้กับองค์กรในการทำงาน ทำให้การประสานงานหรือการทำกิจกรรมต่างๆ ของแต่ละหน่วยงานในองค์กร หรือระหว่างองค์กรเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น


ตัวอย่างเทคโนโลยีสารสนเทศในด้านพาณิชย์

แนวโน้มการใช้งานเทคโนโลยสารสนเทศและการสื่อสาร

1.ด้านอุปกรณ์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร    เมื่อพิจารณาเครือข่ายการสื่อสารทั่วไปจากอดีตจนถึงปัจจุบัน เห็นได้ชัดว่ามนุษย์ใช้อุปกรณ์การสื่อสารแบบพกพามากขึ้นเรื่อยๆเริ่มจากวิทยุเรียกตัวจนไปถึงโทรศัพท์มือถือแบบพกพา ในมนุษย์อันใกล้มนุษย์จะมีอุปกรณ์ที่ทันสมัยมากขึ้นเรื่อยๆ


ตัวอย่างอุปกรณ์สื่อสารและสารสนเทศแบบพกพา


2.ด้านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์    ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ในอดีตมักเป็นระบบที่ใช้คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์เชื่อต่อตรงเพียงชุดเดียว ต่อมาจึงมีการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกันภายในองค์กร และมีการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตเข้าด้วยกันเมื่อมีการใช้งานอินเทอร์เน็ตกันอย่างแพร่หลาย การพัฒนาระบบเครือข่ายเพื่อให้ผู้ใช้สามารถสื่อสารแลกเปลี่ยนกันได้โดยตรง ปัจจุบันมีการใช้จราจร แลนสาย ในสถาบันการศึกษาและองค์กรหลายผู้โดยสารและผู้ขับรถ


การให้บริการเครือข่ายอินเทอร์เน็ต


3.ด้านเทคโนโลยี    ที่สามารถตัดสินใจได้เองเข้ามาแทนที่มากขึ้น เช่นระบบแนะนำเส้นทาง ระบบจอดรถ ระบบตรวจหาตำแหน่ง
-  พีเอ็นดี  (Personal Navigation Device :PND)  เป็นอุปกรณ์เพื่อช่วยในการเดินทาง เสมือนเป็นยผู้นำช่วยในการเดินทาง
- เทคโนโลยีอาร์เอฟไอดี ( Radio Frequency Identification : RFID) เป็นเทคโนโลยีที่ใช้คลื่นวิทยุเพื่อระบุเอกลักษณ์ของวัตถุ


การจอดรถแบบอัติโนมัติ

การเปลี่ยนแปลงจากการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ

1.ด้านสังคม   สภาพเสมือนจริง การใช้อินเทอร์เน็ตเชื่อโยงการทำงานต่างๆจนเกิดเป็นสังคมที่ติดต่อผ่านทางอินเทอร์เน็ต  การได้รับเทคโนโลยีมากเกินไป จะทำให้เราติดโทรศัพท์     ลุ่มหลงอินเทอร์เน็ตมากเกินไปจนถึงขั้นติด

ลุ่มหลงในอินเทอร์เน็ตมากเกินไป

2.ด้านเศรษฐกิจ    เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารส่งผลให้เกิดสังคมโลการวัฒน์ เพราะสามารถชมข่าว ชมรายการโทรทัศน์ที่ส่งกระจายผ่านดาวเทียมของประเทศ สามารถรับรู้ข่าวได้
ระบบเศรษฐกิจของโลกที่ผูกพันกันทุกประเทศ


3.ด้านสิ่งแวดล้อม   เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มีประโยชน์ในด้านธรรมชาติสิ่งแวดล้อม เช่น ระบบป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง โดยใช้ภาพถ่ายดาวเทียม  การเก็บระดับน้ำทะเล        ขยะอิเล็กทรอนิกส์ เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ มีปัญหาในการย่อย  จึงต้องแยกทีละชิ้นจึงค่อยส่งไปเครื่องย่อย
ขยะอิเล็กทรอนิกส์


ตัวอย่างอาชีพทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
       
-     นักเขียนโปรแกรมหรือโปรแกรมเมอร์ ( programmer ) ทำหน้าที่ในการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อใช้ในงานด้านต่างๆ เช่น โปรแกรมเกี่ยวกับการซื้อขายสินค้า 



     
-     นักวิเคราะห์ระบบ( system abalyst) ทำหน้าที่ในการศึกษาวิเคราะห์และพัฒนาระบบสารสนเทศ นักวิเคราะห์ระบบจะทำการวิเคราะห์ระบบงานและออกแบบสารสนเทศให้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้แรงงาน ซึ่งอาจรวมกันถึงงานด้านการออกแบบฐานข้อมูล


-    ผู้ดูแลและบริหารฐานข้อมูล ( database administrator) ทำหน้าที่บริหารและจัดการฐานข้อมูล รวมถึงการออกแบบ  บำรุงการรักษาข้อมูล และการดูแลระบบความปลอดภัยของฐานข้อมูล


-   ผู้ดูแลและบริหารระบบ( system administrator) ทำหน้าที่บริหารและจัดการระบบคอมพิวเตอร์ในองค์กร  โดยดูแลการติดตั้งและบำรุงรักษาระบบปฏิบัติการ    การติดตั้งฮาร์ดแวร์   การติดตั้งและปรับปรุงซอฟต์แวร์ สร้าง ออกแบบละบำรุงการรักษา


-   ผู้ดูแลและบริหารระบบเครือข่าย ( network administrator) ทำหน้าที่บริหารและจัดการออกแบบระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ และดูแลรักษาความปลอดภัยของระบบเครือข่ายขององค์กร เช่น ตรวจสอบการใช้งานเครือข่ายของพนักงานและติดตั้งโปรแกรมป้องกันผู้บุกรุกเครือข่าย


-    ผู้พัฒนาและบริหารระบบเว็บไซต์ ( webmaster ) ทำหน้าที่ ออกแบบพัฒนา ปรับปรุง และบำรุงรักษาเว็บไซต์ให้มีความทันสมัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งต้องมีการปรับปรุงข้อมูลให้ปัจจุบันอยู่เสมอ


 เจ้าหน้าที่เทคนิค ( technician ) ทำหน้าที่ ซ่อมบำรุงรักษาเครื่องคอมพิวเตอร์ ติดตั้งโปรแกรม หรือติดตั้งฮาร์ดแวร์ต่างๆ และแก้ไขปัญหาที่อาจเกิดจากการใช้อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ในองค์กร




-  นักเขียนเกม ( game maker ) ทำหน้าที่เขียนหรือพัฒนาโปรแกรมเกมคอมพิวเตอร์ ในปัจจุบันนี้การเขียนเกมคอมพิวเตอร์ เป็นอาชีพที่ได้รับความนิยมอย่างสูงในประเทศไทย



...................................................................................................................................................................