วันพฤหัสบดีที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2555


 บทที่ 1 เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร





              คำว่า เทคโนโลยีสารสนเทศ ( Infoemation Technology : IT ) เรียกย่อว่า ไอที ประกอบด้วย
คำว่า" เทคโนโลยี" และคำว่า "สารสนเทศ" นำมารวมกันเป็น เทคโนโลยีสารสนเทศ และคำว่า "เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร" ( Information  and  Communication Technology : ICT ) หรือเรียกย่อว่า ICT ประกอบด้วยคำที่มีความหมาย ดังนี้
-  เทคโนโลยี (Technology)  หมายถึง การนำความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ในการพัฒนา เครื่องใช้ อุปกรณ์ วิธีการหรือกระบวนการ 
- สารสนเทศ ( Information ) หมายถึง ผลลัพธ์ที่เกิดจากการนำข้อมูลมาผ่านกระบวนการต่างๆ อย่างมีระบบ จนได้สิ่งที่เป็นประโยชน์ 
- เทคโนโลยีสารสนเทศ ( Information Technology ) หมายถึง  การนำความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้เพื่อสร้างหรือจัดการกับสารสนเทศอย่างเป็นระบบและรวดเร็ว   โดยอาศัยเทคโนโลยีทางด้านคอมพิวเตอร์ 
- เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (Information and Communition Technology) หมายถึง 
เทคโนโลยที่เกี่ยวข้องกับข่างสารข้อมูล และการสื่อสารนับตั้งแต่สร้าง การนำมาวิเคราะห์และประมวลผล 

องค์ประกอบของระบบสารสนเทศ

1. ฮาร์ดแวร์ ( hardware )  หมายถึง ตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์ต่อพ่วงต่างๆ เช่น คีย์บอร์ด เมาส์ จอภาพ ฯลฯ รวมทั้งอุปกรณืสื่อสารสำหรับเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์เข้าเป็นเครือข่าย
คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วงต่างๆ

2.  ซอฟต์แวร์ ( software) หมายถึง โปรแกรมหรือชุดคำสั่ง ที่ใช้ควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์ ชุดคำสั่งจะถูกแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ 


โปรแกรมหรือชุดคำสั่ง

     2.1. ซอฟต์แวร์ระบบ ( system software ) หมายถึง ชุดคำสั่งที่ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของเครื่อง  คอมพิวเตอร์  และอุปกรณ์ต่อพ่วงต่างๆ ซอฟต์แวร์ระบบแบ่งออกเป็น 4 ประเภท
        
        2.1.1 ระบบปฏิบัติการ ( Operating System : OS ) เป็นซอฟต์แวร์ที่ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ และซอฟต์แวร์ทั้งหมดภายในเครื่อง 
ตัวอย่างระบบปฏิบัติการ


        2.1.2 โปรแกรมอรรถประโยชน์ ( utilities program ) เป็นโปรแกรมที่ช่วยเสริมการทำงานของคอมพิวเตอร์ เช่น โปรแกรมที่ใช้ในการจัดการข้อมูล ( file manager )  โปรแกรมที่ใช้ในการจัดพื้นที่ของดิสก์ ( disk defragmenter )  เป็นต้น 
การเรียกใช้งานโปรแกรมอรรถประโยชน์

        2.1.3 โปรแกรมขับอุปกรณ์ หรือดีไวซ์ไดร์ฟเวอร์ ( device driver ) โปรแกรมที่ช่วยติดตั้งระบบเพื่อให้คอมพิวเคอร์สามารถติดตั้ง และใช้งานได้
ดีไวซ์ไดร์ฟเวอร์

            2.1.4 โปรแกรมแปลภาษา เป็นโปรแกรมที่ทำหน้าที่แปลโปรแกรมที่เขียนขึ้นด้วยภาษาคอมพิวเตอร์โปรแกรมหรือชุดคำสั่ง



ตัวแปลภาษาซี

2.2 ซอฟต์แวร์ประยุกต์ ( application sortware ) หมายถึง ชุดคำสั่งที่เขียนขึ้นเพื่อให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานตามวัตถุประสงค์ เช่น เบสิก ซี จาวา เป็นต้น


ตัวอย่างซอฟต์แวร์ประยุกต์


3.ข้อมูล ( data ) ข้อมูลที่ถูกรวบรวมและป้อนข้อมูลเข้าสู่คอมพิวเตอร์ โดยผ่านอุปกรณ์ของหน่วยรับเข้า 


ข้อมูลหน่วยความจำ


4.บุคลากร ( people ) หมายถึง บุคลากรที่เป็นผู้พัฒนาระบบสารสนเทศ


บุคลากรที่เป็นผู้ใช้ระบบสารสนเทศ

5.ขั้นตอนการปฏิบัตงา( procedrue ) ระบบสารสนเทศต้องมีขั้นตอนการปฏิบัติงานที่เป็นลำดับขั้นตอน เพิ่อให้ผู้ใช้งานสามารถเข้าใจได้ง่าย 


กระบวนการประมวลผลข้อมูล และการใช้สารสนเทศ

ประกอบและตัวอย่างของการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

1. ด้านการศึกษา  เทคโนโลยสารสนเทศและการสื่อสารถูกนำมาใช้เพื่ออำนวยความสะดวกในการบริหารด้านการศึกษา เช่น ระบบการลงทะเบียน และระบบการจัดตารางสอน เทคโนโลยสารสนเทศด้สนการศึกษา แบ่งออกเป็น 3 ประเภท
  - การศึกษาทางไกลผ่านดางเทียม
  - บทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ยังช่วยเสริมประสิทธิภาพการเรียนการสอน
  - บทเรียนเล็กทรอนิกส์


ตัวอย่างเทคโนโลยีสารสนเทศในด้านการศึกษา


2.ด้านการแพทย์และสาธารณสุข เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารถูกรำมาใช้เริ่มตั้งแต่การทำทะเบียนคนไข้ การรักษาพยาบาล การตรวจวินิจฉัย เป็นต้น




                                       ตัวอย่างเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในด้านการแพทย์และสาธารณสุข



3. ด้านการเกษตรและอุตสาหกรรม เทคโนโลยสารสนเทศและการสื่อสารถูกนำมาใช้ประโยชน์ในด้านเกษรกรรม เช่น การจัดทำข้อมูลเพื่อการเกษตรและพยากรณ์ผลผลิตด้านการเกษตร นอกจากนี้ยังช่วยพัฒนาความก้าวหน้าด้าอุตสาหกรรม การประดิษฐ์หุ่นยนต์เพื่อใช้ทำงานบ้าน




ตัวอย่างเทคโนโลยสารสนเทศและการสื่อสารในด้านการเกษตรและอุตสาหกรรม

4.ด้านการเงินการธนาคาร เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารถูกนำมาใช้ในด้านการเงินการธนาคาร โดยใช้ช่วยงานด้านบัญชี การฝากถอนเงิน โอนเงิน




ตัวอย่างเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในด้านการเงินการธนาคาร


5.ด้านความมั่นคง เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารกันอย่างแพร่หลาย เช่น ใช้ในการควบคุมประสานงานวงจรทหาร การแปลรหัสลับในงานจารกรรมระหว่างประเทศ การส่งดางเทียม และการคำนวณวิถีการโคจร

ตัวอย่างเทคโนโลยสารสนเทศและการสื่อสารในด้านความมั่นคง

6.ด้านการคมนาคม     มีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการเดินทาง เช่น การเดินทางรถไฟ มีการเชื่อมโยงข้อมูลการจองที่นั่งไปยังทุกสถานี ทำให้สะดวกต่อผู้โดยสาร
ตัวอย่างเทคโนโลยสารสนเทศและการสื่อสารในด้านการคมนาคม


7.ด้านวิศวกรรมและสถาปัตยกรรม มีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในการออกแบบ หรือจำลองสภาวการณ์ต่างๆ โดยการคำนวณและแสดงภาพสถานการณ์



ตัวอย่างเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่ิอสารในด้านวิศวกรรมและสถาปัตยกรรม


8.ด้านการพาณิชย์    องค์กรในภาคธุรกิจใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในการบริหารจัดการ เพื่อช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นให้กับองค์กรในการทำงาน ทำให้การประสานงานหรือการทำกิจกรรมต่างๆ ของแต่ละหน่วยงานในองค์กร หรือระหว่างองค์กรเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น


ตัวอย่างเทคโนโลยีสารสนเทศในด้านพาณิชย์

แนวโน้มการใช้งานเทคโนโลยสารสนเทศและการสื่อสาร

1.ด้านอุปกรณ์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร    เมื่อพิจารณาเครือข่ายการสื่อสารทั่วไปจากอดีตจนถึงปัจจุบัน เห็นได้ชัดว่ามนุษย์ใช้อุปกรณ์การสื่อสารแบบพกพามากขึ้นเรื่อยๆเริ่มจากวิทยุเรียกตัวจนไปถึงโทรศัพท์มือถือแบบพกพา ในมนุษย์อันใกล้มนุษย์จะมีอุปกรณ์ที่ทันสมัยมากขึ้นเรื่อยๆ


ตัวอย่างอุปกรณ์สื่อสารและสารสนเทศแบบพกพา


2.ด้านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์    ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ในอดีตมักเป็นระบบที่ใช้คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์เชื่อต่อตรงเพียงชุดเดียว ต่อมาจึงมีการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกันภายในองค์กร และมีการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตเข้าด้วยกันเมื่อมีการใช้งานอินเทอร์เน็ตกันอย่างแพร่หลาย การพัฒนาระบบเครือข่ายเพื่อให้ผู้ใช้สามารถสื่อสารแลกเปลี่ยนกันได้โดยตรง ปัจจุบันมีการใช้จราจร แลนสาย ในสถาบันการศึกษาและองค์กรหลายผู้โดยสารและผู้ขับรถ


การให้บริการเครือข่ายอินเทอร์เน็ต


3.ด้านเทคโนโลยี    ที่สามารถตัดสินใจได้เองเข้ามาแทนที่มากขึ้น เช่นระบบแนะนำเส้นทาง ระบบจอดรถ ระบบตรวจหาตำแหน่ง
-  พีเอ็นดี  (Personal Navigation Device :PND)  เป็นอุปกรณ์เพื่อช่วยในการเดินทาง เสมือนเป็นยผู้นำช่วยในการเดินทาง
- เทคโนโลยีอาร์เอฟไอดี ( Radio Frequency Identification : RFID) เป็นเทคโนโลยีที่ใช้คลื่นวิทยุเพื่อระบุเอกลักษณ์ของวัตถุ


การจอดรถแบบอัติโนมัติ

การเปลี่ยนแปลงจากการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ

1.ด้านสังคม   สภาพเสมือนจริง การใช้อินเทอร์เน็ตเชื่อโยงการทำงานต่างๆจนเกิดเป็นสังคมที่ติดต่อผ่านทางอินเทอร์เน็ต  การได้รับเทคโนโลยีมากเกินไป จะทำให้เราติดโทรศัพท์     ลุ่มหลงอินเทอร์เน็ตมากเกินไปจนถึงขั้นติด

ลุ่มหลงในอินเทอร์เน็ตมากเกินไป

2.ด้านเศรษฐกิจ    เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารส่งผลให้เกิดสังคมโลการวัฒน์ เพราะสามารถชมข่าว ชมรายการโทรทัศน์ที่ส่งกระจายผ่านดาวเทียมของประเทศ สามารถรับรู้ข่าวได้
ระบบเศรษฐกิจของโลกที่ผูกพันกันทุกประเทศ


3.ด้านสิ่งแวดล้อม   เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มีประโยชน์ในด้านธรรมชาติสิ่งแวดล้อม เช่น ระบบป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง โดยใช้ภาพถ่ายดาวเทียม  การเก็บระดับน้ำทะเล        ขยะอิเล็กทรอนิกส์ เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ มีปัญหาในการย่อย  จึงต้องแยกทีละชิ้นจึงค่อยส่งไปเครื่องย่อย
ขยะอิเล็กทรอนิกส์


ตัวอย่างอาชีพทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
       
-     นักเขียนโปรแกรมหรือโปรแกรมเมอร์ ( programmer ) ทำหน้าที่ในการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อใช้ในงานด้านต่างๆ เช่น โปรแกรมเกี่ยวกับการซื้อขายสินค้า 



     
-     นักวิเคราะห์ระบบ( system abalyst) ทำหน้าที่ในการศึกษาวิเคราะห์และพัฒนาระบบสารสนเทศ นักวิเคราะห์ระบบจะทำการวิเคราะห์ระบบงานและออกแบบสารสนเทศให้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้แรงงาน ซึ่งอาจรวมกันถึงงานด้านการออกแบบฐานข้อมูล


-    ผู้ดูแลและบริหารฐานข้อมูล ( database administrator) ทำหน้าที่บริหารและจัดการฐานข้อมูล รวมถึงการออกแบบ  บำรุงการรักษาข้อมูล และการดูแลระบบความปลอดภัยของฐานข้อมูล


-   ผู้ดูแลและบริหารระบบ( system administrator) ทำหน้าที่บริหารและจัดการระบบคอมพิวเตอร์ในองค์กร  โดยดูแลการติดตั้งและบำรุงรักษาระบบปฏิบัติการ    การติดตั้งฮาร์ดแวร์   การติดตั้งและปรับปรุงซอฟต์แวร์ สร้าง ออกแบบละบำรุงการรักษา


-   ผู้ดูแลและบริหารระบบเครือข่าย ( network administrator) ทำหน้าที่บริหารและจัดการออกแบบระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ และดูแลรักษาความปลอดภัยของระบบเครือข่ายขององค์กร เช่น ตรวจสอบการใช้งานเครือข่ายของพนักงานและติดตั้งโปรแกรมป้องกันผู้บุกรุกเครือข่าย


-    ผู้พัฒนาและบริหารระบบเว็บไซต์ ( webmaster ) ทำหน้าที่ ออกแบบพัฒนา ปรับปรุง และบำรุงรักษาเว็บไซต์ให้มีความทันสมัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งต้องมีการปรับปรุงข้อมูลให้ปัจจุบันอยู่เสมอ


 เจ้าหน้าที่เทคนิค ( technician ) ทำหน้าที่ ซ่อมบำรุงรักษาเครื่องคอมพิวเตอร์ ติดตั้งโปรแกรม หรือติดตั้งฮาร์ดแวร์ต่างๆ และแก้ไขปัญหาที่อาจเกิดจากการใช้อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ในองค์กร




-  นักเขียนเกม ( game maker ) ทำหน้าที่เขียนหรือพัฒนาโปรแกรมเกมคอมพิวเตอร์ ในปัจจุบันนี้การเขียนเกมคอมพิวเตอร์ เป็นอาชีพที่ได้รับความนิยมอย่างสูงในประเทศไทย



...................................................................................................................................................................



  























  










ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น