วันพุธที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

บทที่ 5 อินเทอร์เน็ต


บทที่ 5 อินเทอร์เน็ต

                                                         

5.1 อินเทอร์เน็ต
    5.1.1 ความหมายของอินเทอร์เน็ต
          อินเทอร์เน็ต ( Internet ) เป็นเครือข่ายขนาดใหญ่ที่เชื่อมต่อเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขององค์กรธุรกิจ หน่วยงายของรัฐ สถานศึกษา ตลอกจนเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลเข้าไว้ด้วยกัน
     5.1.2. โครงสร้างพื้นฐานของอินเทอร์เน็ต
          ประกอบด้วยเครือข่ายระดับท้องถิ่น ระดับภูมิภาค ระดับชาติ และระดับนานาชาติที่เชื่อมโยงเข้าด้วยกัน
                                          
 5.1.3.การเข้าถึงอินเทอร์เน็ต
          ผู้ที่ใช้ที่เป็นคนงาน นักเรียน หรือนักศึกษา  มักจะเข้าถึงอินเทอร์เน็ตผ่านเครือข่ายของหน่วยงาน โรงเรียนหรือมหาวิทยาลัย ซึ่งเชื่อมต่อเข้ากับอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง ขณะที่ผู้ใช้ทั่วไปอาจใช้วิธีการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตโดยใช้โมเด็มผ่านทางโทรศัพท์
     - ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต หรือไอเอสพี ให้บริการการเชื่อมต่อเข้าสู่อินเทอร์เน็ตสำหรับผู้ใช้ โดยอาจคิดค่าบริการเป็นรายเดือน
   5.1.4. การติดต่อสื่อสารบนอินเทอร์เน็ต
         คอมพิวเตอร์ที่ติดต่อสื่อสารระหว่างกันบนอินเทอร์เน็ต มีคุณลักษณะที่แตกต่างกัน เช่น ประเภทของคอมพิวเตอร์ ซีพียู หรือระบบปฏิบัติการ
         - เลขที่อยู่ไอพี
         - ระบบชื่อโดเมน
             

5.2 เวิลด์ไวด์เว็บ
            เป็นการให้บริการข้อมูลแบบไฮเปอร์เท็กซ์ ที่ปนะกอบไปด้วยเอกสารจำนวนมากที่มีการเชื่อมโยงกัน ซึ่งเป็นแหล่งข้อมูลขนาดใหญ่   สำหรับคำที่เกี่ยวข้องกับเวิลด์ไวด์เว็บที่ควรทราบ เช่น
         - เว็บเพจ เป็นหน้าเอกสารที่เขียนขึ้นในรูปแบบภาษาเอชที
         - เว็บไซต์ เป็นกลุ่มของเว็บเพจที่เกี่ยวข้องกัน และอยู่ภายใต้ชื่อโดเมนเดียวกัน
         เว็บเซิร์ฟเวอร์ เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ให้บริการเว็บเพจ
    5.2.1 การเรียกดูเว็บ เว็บเบราว์เซอร์ เป็นโปรแกรมที่ใช้สำหรับแสดงเว็บเพจ และสามารถเชื่อมโยงไปยังส่วนอื่นในเว็บเพจเดียวกันหรือเว็บเพจอื่น
                                                             
5.2.2 ที่อยู่เว็บ  การอ้างอิงตำแหน่งของแหล่งข้อมูลบนอินเทอร์เน็ตที่ผู้ใช้ร้องขอ
           - โพรโทคอล ใช้สำหรับระบุมาตรฐานที่ใช้ในการแลกเปลี่ยนข้อมูลผ่านเว็บ
           - ชื่อโดเมน ใช้สำหรับระบุชื่อโดเมนของเว็บเซิร์ฟเวอร์ของผู้ให้บริการข้อมูล
           - เส้นทางเข้าถึงไฟล์  ใช้สำหรับระบุตำแหน่งของไฟล์จากเว็บเซิร์ฟเวอร์
           - ชื่อข้อมูล ชื่อไฟล์ที่ร้องขอ
       5.2.3 การค้นหาผ่านเว็บ
           โปรแกรมค้นหา หรือเสิร์ชเอนจิน ใช้สำหรับค้นหาเว็บเพจที่ต้องการโดยระบุคำหลักหรือคำสำคัญ
           - ตัวดำเนินการในการค้นหา เพื่อให้การค้นหาข้อมูลด้วยโปรแกรมค้นหาเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

                                  
       5.2.4 เว็บ 1.0 และเว็บ 2.0 
             เว็บ 1.0 เป็นเว็บในยุคแรกเริ่มที่มีลักษณธให้ข้อมูลแบบทางเดียว ผู้ใช้ทั่วไปเข้าถึงเว็บเพจในฐานะผู้บริโภคข้อมูลและสารสนเทศตามที่ผู้สร้างได้ให้รายละเอียดไว้เพียงอย่างเดียว ไม่ค่อยมีการปรับปรุงข้อมูลให้ทันสมัย

 5.3 บริการบนอินเทอร์เน็ต
       5.3.1 ไปรษณีย์อิเล็ทรอนิกส์ หรืออีเมล เป็นบริการรับส่งจดหมายในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ที่ได้รับความนิยมจากผู้ใช้ โดยสามารถส่งได้ทั้งข้อความและไฟล์ต่างๆ
       5.3.2 การสื่อสารในเวลาจริง เป็นการสื่อสารระหว่างบุคคลที่สามารถโต้ตอบกลับได้ทันทีผ่านเครือข่ายการสื่อสาร สามารถส่งเป็นข้อความ  ภาพ  ภาพเคลื่อนไหว  เสียง  ไปยีงผู้รับ
          แชท เป็นการสนทนาผ่านอินเทอร์เน็ต ทั้งระหว่างบุคคล 2 คน หรือระหว่างกลุ่มบุคคล
          - ห้องคุย เป็นการสนทนาที่ผู้ใช้สามารถเลือกประเภทของหัวข้อที่สนใจซึ่งแบ่งไว้เป็นห้องๆ
          - วอยซ์โอเวอร์ไอพี หรือวีโอไอพี  เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า อินเทอร์เน็ตเทเลโฟนี ซึ่งช่วยให้ผู้ใช้สามารถคุยกับผู้อื่นผ่านทางอินเทอร์เน็ต
                                                                       
     5.3.3 เว็บไซต์เครือข่ายทางสังคม เป็นชุมชนออนไลน์ที่สมาชิกใยชุมชนมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกัน โดยมีเป้าหมายในการเป็นจุดเชื่อมโยงระหว่างผู้ใช้ โดยอาจเชื่อมโยงผ่านกิจกรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง
      5.3.4 บล็อก เป็นระบบการบันทึกข้อมูลลำดับเหตุการณ์ในแต่ละวัน ประสบการณ์ ความคิดของผู้เขียนบล็อกผ่านเว็บไซต์ ในรูปแบบการนำเสนอหัวข้อ
                                                

     5.3.5 ไมโครบล็อก เป็นบล็อกที่มีการแสดงหัวข้อและความคิดเห็นที่กระชับ กะทัดรัด
     5.3.6 วิกิ เป็นรูปแบบการเผยแพร่ข้อมูลที่บุคคลต่างๆ ซึ่งเป็นผู้มีความรู้ความชำนาญเฉพาะเรื่อง สามารถมีส่วนร่วมในการเป็นผู้ให้ข้อมูลใหม่
                                               
     5.3.7 อาร์เอสเอส เป็นเทคโนโลยีที่ใช้สำหรับเผยแพร่ข้อมูลที่ถูกปรับปรุงให้ทันสมัยอยู่เป็นประจำได้แบบอัติโนมัติ โดยผู้ใช้ต้องเข้าไปยังเว็บไซต์ทีสนใจต่างๆโดยตรง
                                                      
     5.3.8 พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ เป็นการทำธุรกรรมซื้อขาย หรือแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการบนอินเทอร์เน็ต

5.4 โปรแกรมไม่พึงประสงค์
       - ไวรัส เป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่เขียนขึ้นเพื่อสร้างความรำคาญให้กับผู้ใช้งานและอาจร้ายแรงถึงขั้นทำลายระบบคอมพิวเตอร์ให้เสียหายทั้งระบบ
        - เวิร์ม หรือหนอนคอมพิวเตอร์ เป็นโปรแกรมแปลกปลอมที่สามารถคัดลอกตัวเองแล้วส่งไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์อื่นๆได้ทันที
        - ม้าโทรจัน เป็นโปรแกรมแปลกปลอมที่ผ่านเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์โดยการแอบแฝงตัวเองว่าเป็นโปรแกรมอื่น เช่น การหลอกให้ผู้ใช้เข้าใจว่าเป็นโปรแกรมเกม หรือ โปรแกรมสกรีนเซิร์ฟเวอร์
         สปายแวร์ เป็นโปรแกรมที่ถูกออกแบบมาให้คอยติดตาม บันทึกข้อมูลส่วนบุคคล รายงานข้อมูลการใช้งานของผู้ใช้แต่ละคนบนอินเทอร์เน็ต หรือทำการเปลี่ยนการตั้งค่าของโปรแกรมเบราว์เซอร์ใหม่
          - แอดแวร์ เป็นโปรแกรมแอบแฝงที่เมื่อโปรแกรมได้รับการดาวน์โหลดหรือมีการติดตั้งในเครื่องคอมพิวเตอร์เรียบร้อยแล้ว
             - สแปม เป็นการใช้ระบบส่งอีเมลในการส่งข้อความที่ไม่พึงประสงค์ ให้กับผู้ใช้เป็นจำนวนมาก

5.5 ผลกระทบจากการใช้งานอินเทอร์เน็ต
        1. ปัญหาสุขภาพและความสัมพันธ์ทางสังคม
            ผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตติดต่อกันเป็นเวลานานมาเกินไปอาจก่อให้เกิดปัญหาโรคติดอินเทอร์เน็ตซึ่งเป็นอาการทางวจิคประเภทหนึ่ง
          2. ปัญหาอาชญากรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ มีผู้ใช้อินเทอร์เน็ตเป็นช่องทางในการก่ออาชญากรรมหลายรูปแบบ เช่น
             - เจาะระบบรักษาความปลอดภัย ให้สามารถเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ เพื่อการกระทำการใดๆกับระบบคอมพิวเตอร์
            ขโมยข้อมูลส่วนบุคคล โดยการใช้ช่องทางการสื่อสารหรืออินเทอร์เน็ต เช่น การแชท การโทรศัพท์ ในการได้มาซึ่งข้อมูลส่วนตัวของบุคคล โดยการปลอมแปลงเป็นผู้ดูแลระบบ หรือผู้ดูแลข้อมูล
            - เผยแพร่ภาพอนาจาร การเผยแพร่ภาพอนาจารต่างๆ โดยใช้วิธีการที่หลายหลาย เช่น ผ่านเกมออนไลน์ ผ่านการสร้างไฟล์ไวรัสเจาพเข้ามาที่ระบบคอมพิวเตอร์
          3.ปัญหาการล่อลวงในสังคม
              สร้างตัวตนขึ้นมาใหมในการติดต่อสนทนากับผู้อื่น โดยให้ที่เป็นเท็จ เช่น เพศ อายุ ภาพถ่าย และอาชีพ เพื่อล่อลวงคู่สนทนา และนัดพบกระทำอันตรายต่างๆ

บัญญัติ 10 ประการ ในการใช้งานคอมพิวเตอร์
   1. ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์ทำร้ายผู้อื่น
   2. ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์รบกวนผู้อื่น
   3. ต้องไม่เปิดดูไฟล์ของผู้อื่นก่อนได้รับอนุญาติ
   4.ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์ในการโจรกรรมข้อมูล
   5.ต้องไม่ใช่คอมพิวเตอร์สร้างหลักฐานเท็จ
   6. ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์ในการคัดลอกหรือใช้โปรแกรมที่มีลิขสิทธฺ์
   7. ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์ในการละเมิดการใช้ทรัพยากรคอมพิวเตอร์
   8. ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์เพื่อนำเอาผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตนเอง
   9. ต้องคำนึงถึงผลกระทบที่เกิดจากโปรแกรมที่ตัวเองพัฒนาขึ้น
  10. ต้องใช้คอมพิวเตอร์ โดยเคารพกฏ ระเบียบ กติกา และมารยามของสังคมนั้น




 ...................................................................................................................................